ถ้าหากถามว่าใครอยากรวยยกมือขึ้น ผมคิดว่าคงมีหลายคนยกมือนะครับ
แต่หากถามว่า "รวย" คือเท่าไหร่ ผมคิดว่ามีน้อยคนนักที่จะตอบเป็นตัวเลขได้
ส่วนใหญ่จะเป็น "ก็รวยแหละ" "มีเงินพอใช้ตลอดชีวิต" "มีบ้านใหญ่ๆ มีรถสวยๆ มีงานดีๆ"
และที่เกร่อที่สุดในปัจจุบัน คือ "มีอิสรภาพทางการเงิน"
ผมไม่ได้บอกว่าการให้นิยามเหล่านี้ผิดนะครับ เพียงแต่ว่ามันยังไม่ชัดเจนพอเท่านั้นเอง
บางคนมีสิบล้านบอกยังไม่รวย บางคนบอกมีเงินแสนเดียวก็ดีใจตายแล้ว
และสำหรับบางคน การมีเงินใช้ไปเดือนต่อเดือนไม่ขาดมือ นั่นก็ดีมากแล้ว
ถ้าเราไม่สามารถระบุเป้าหมายที่เป็นตัวเลขชัดเจนได้ แล้วเราจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร
ถ้าเราขับรถไปตามแผนที่ รับรองว่าเราไม่หลงทางครับ แต่เราก็ไปไม่ถึงเป้าหมายเช่นกัน
เพราะเราไม่ได้มีเป้าหมายตั้งแต่แรก และคงไม่มีใครตั้งเป้าหมายว่า จะไปกรุงเทพ
โดยไม่ระบุสถานที่ที่ชัดเจนใช่ไหมครับ
ในด้านการเงินก็เช่นกัน หากเราบอกว่า อยากมีอิสรภาพทางการเงิน อยากรวย อยากมีเงิน
มันก็เหมือนกับเราอยากไปกรุงเทพ แต่ไม่ระบุสถานที่ที่ให้แน่ชัด แล้วจะไปถึงไหมครับ
ถ้าเราขับรถไปตามแผนที่ ก็เหมือนกับเรามีเครื่องมือในการลงทุน ยังไงเราก็ไปไม่ถึง ยังไงเราก็ไม่บรรลุเป้าหมายทางการเงิน เพราะมันไม่ได้มีอยู่มาตั้งแต่แรกแล้ว เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้นั่นเอง
หลังจากที่เราตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ว่าเราจะลงทุนเพื่อวัยเกษียณ เพื่อรักษามูลค่าเงินลงทุน เพื่อเพิ่มค่าเงินลงทุน เพื่อการศึกษา เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เพื่อท่องเที่ยว เพื่อฯลฯ
เราก็สามารถที่จะจัดการได้ว่า เงินลงทุนเราควรไปอยู่ในจุดไหนจึงจะเหมาะสม
ทั้งในด้านของความปลอดภัยของเงินต้น(ความเสี่ยง) สภาพคล่อง และอัตราผลตอบแทนที่เราคาดหวัง
การได้เป้าหมาย จะบอกเราถึงวิธีการที่เราควรใช้ในการวิ่งไปหาจุดมาย
คงไม่มีใครเดินไปรัสเซีย(หมายถึงคนส่วนใหญ่นะครับ พวกสร้างสถิติไม่นับ) และคงไม่มีใครนั่งเครื่องบินจากลาดพร้าวไปพระโขนง
เช่นกัน ในด้านการเงิน หากเราลงทุนเพื่อการเกษียณ เราก็จะใช้เครื่องมือคนละตัวกับการลงทุนเพื่อท่องเที่ยว
เราจะจัดการพอร์ทของเราได้ ถ้าเรามีเป้าหมายครับ
สุดท้ายผมจะยกตัวอย่างการลงทุนเพื่อการเกษียณมาให้ดูกันนะครับ
ถ้าเราเก็บเงินไว้ในที่ๆปลอดภัยจากการลดมูลค่าของเงินในระยะสั้น ทำให้ได้ผลตอบแทนน้อยลง
แล้วเป้าหมายที่เราตั้งไว้กับเครื่องมือที่เราใช้ไม่เหมาะสมกัน จะเกิดอะไรขึ้น
ในตารางนี้ ผมสมมติให้เก็บเงินเดือนละเท่าๆกันหลังจากเรียนจบปริญญาตรี
และกำหนดให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 37 ปี เท่ากับ4.5% ต่อปี
ผลตอบแทนอ้างอิง ผมใช้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของสินทรัพย์
เนื่องจาก ถ้าเราลงทุนในระยะเวลายาวนานมากๆ อตราผลตอบแทนจะวิ่งเข้าหาค่าเฉลี่ยเสมอ
โดยให้การลงทุนในพันธบัตร ได้อัตราผลตอบแทน 5%
การลงทุนในหุ้น ได้อัตราผลตอบแทน 11%
และมีผลตอบแทนแบบกลางๆ ได้อัตราผลตอบแทน7% (สำหรับใช้อ้างอิงในการลงทุนอื่นๆครับ)
ตารางแรก เป็นการเก็บเงินทุกเดือนในตราสารหนี้
จากตารางจะเห็นว่าการเก็บเงินเพียงเดือนละ2,000บาท แต่เก้บอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา37ปี
ก็จะทำให้เราเป็นเศรษฐีเงินล้านกับเขาได้เหมือนกัน เย้ๆๆๆๆ
แต่เดี๋ยวก่อน!!! ถ้าเราปรับอัตราเงินเฟ้อเข้าไป เงินที่เรามีตอนอายุ60จะมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน
ถ้าเราเก็บเงินเดือนละ 2,000บาท เมื่ออายุ60ปี
เราะมีเงิน 2,655,040.30 บาท แต่งินจำนวนนี้มีค่าเทียบเท่า 521,618.92 บาทในปัจจุบัน
โดยที่เราเก็บเงินจริงๆ เป็นจำนวน 912,050.00 บาท
ถ้าเราเก็บเงินเดือนละ 3,000บาท เมื่ออายุ60ปี
เราะมีเงิน 3,982,560.46 บาท แต่งินจำนวนนี้มีค่าเทียบเท่า 782,428.38 บาทในปัจจุบัน
โดยที่เราเก็บเงินจริงๆ เป็นจำนวน 1,368,075.00บาท
ถ้าเราเก็บเงินเดือนละ 3,000บาท เมื่ออายุ60ปี
เราะมีเงิน 6,637,600.76 บาท แต่งินจำนวนนี้มีค่าเทียบเท่า 1,304,047.30 บาทในปัจจุบัน
โดยที่เราเก็บเงินจริงๆ เป็นจำนวน 2,280,125.00 บาท
ถ้าดูคร่าวๆ มูลค่าที่ใช้ได้นอนาคต น้อยกว่าจำนวนเงินที่เราเก็บซะอีกนะครับ
ทั้งๆที่ เราเก็บเงินในที่ๆอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินเฟ้อแท้ๆเชียว ทำไม…
เพราะว่าเราเก็บเงินเดือนละครั้ง ทำให้เดือนท้ายๆของปี เราได้ดอกเบี้ยไม่ถึง5%ไงครับ
ในขณะที่เงินเฟ้อนั้น ทำงานอย่างขยันขันแข็งตลอดทั้งปีไม่มีหยุด ไม่มีการทำงานทีละส่วน
ดังนั้น ถ้าใครเลือกที่จะลงทุนเพื่อการเกษียณในตราสารหนี้แต่เพียงอย่างเดียว
ลองคิดแล้วคิดอีกให้ดีๆนะครับ
ต่อมา ถ้าเราลงทุนในตราสารทุน
ถึงแม้ว่าการลงทุนในหุ้น จะมีการขึ้นๆลงๆของราคาให้หัวใจเราไหวหวั่น
แต่กระนั้น ผลตอบแทนในระยะยาวของหุ้นเป็นผลตอบแทนที่ใช้ได้ทีเดียวครับ
ทั้งนี้การลงทุนระยะยาว จะช่วยลดความผันผวนของราคาลงทำให้ผลตอบแทนดีขึ้น
สำหรับ ผลตอบแทน ดูในตารางเลยครับ เหมือนกับตารางที่แล้ว(แอบอู้ อิอิ)
อันนี้เป็นแบบกลางๆครับ สำหรับคนที่สนใจกองทุนรวมแบบผสม
หรือว่าจะจัดพอร์ทการลงทุนให้มีทั้ง ตราสารทุนและหนี้ด้วยตนเอง
เห็นไหมครับ ว่าหากเราลงทุนไปเรื่อยๆโดยไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ก่อน
เราอาจจะพลาดในท้ายที่สุดก็ได้ครับ
ดังนั้น ก่อนจะคิดว่าจะลงทุนในอะไรดี ลองถามตัวเองใหม่ก่อนไหมครับ
ว่าเราลงทุนเพื่อเป้าหมายอะไร
หุหุหุ
1 comment:
ขอบคุณมากเลยนะครับ สำหรับบทความ
Post a Comment